วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ธาตุลมกับอาการพองและอาการยุบ

ธาตุลม (วาโยธาตุ) มี ๒ อย่าง คือ
. วาโยธาตุภายในและ
. วาโยธาตุภายนอก

ในที่นี้วาโยธาตุภายในมีอยู่ ๖ ประการคือ
. ลมที่ขึ้นเบื้องสูง ซึ่งก่อให้เกิดอาการเรอ สะอึก หรืออาเจียน
. ลมที่พัดลงสู่เบื้องล่าง ซึ่งทําให้มีการถ่ายปัสสาวะและอุจจาระออกจากร่างกาย
. ลมที่อยู่ในท้องภายนอกระบบทางเดินอาหาร
. ลมในกระเพาะและลําไส้
. ลมที่เดินตามเส้นประสาทไปตามแขนขา และส่วนตาง ๆ ของร่างกาย ก่อให้เกิดการยืน การนั่ง การเดิน การคู้ การเหยียด และอิริยาบถย่อยอื่น ๆ และ
. ลมหายใจเข้าและออก

ส่วนวาโยธาตุภายนอก ได้แก่ ลมที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น ลมมรสุม ลมไต้ฝุ่น ลมประจําทิศ ลมร้อน ลมเย็น ลมที่เกิดจากพัดลม เป็นต้น

จากหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การกําหนดอาการพองและอาการยุบของท้อง มิใช่การกําหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออกซึ่งอยูในหมวดอานาปานปัพพะ แต่เป็นการกําหนดวาโยธาตุหรือธาตุลมซึ่งอยูในหมวดธาตุมนสิการปัพพะ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า 

“ภิกษุพิจารณาดูกาย นี้แหละ ตามที่สถิตอยู่ ตามที่ตั้งอยู่โดยความเป็นธาตุว่า ในการนี้มี ธาตุดิน (
the earth element) ธาตุน้ํา (the water element) ธาตุไฟ (the fire element) และธาตุลม (the wind element)

ในขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ธาตุทั้ง ๔ จะปรากฏอาการให้รู้เป็นปัจจุบันธรรม ตัวอย่างในอิริยาบถนั่ง ร่างกายของโยคีจะมีลักษณะตึงและเคร่ง เพื่อให้ทรงตัวอยู่ได้ในอิริยาบถนี้

ด้วยอํานาจของธาตุลมเหมือนลูกโป่งที่ถูกอัดจนแน่นด้วยลม จนมีลักษณะพองและตึง ความแข็ง
(hardness) หรือความอ่อน (softness) คือลักษณะเฉพาะของธาตุดินบางครั้งรู้สึกอุ่นหรือร้อนบริเวณท้องหรือก้นที่สัมผัสกับพื้น ความอุ่น (warmth) หรือความร้อน (hotness) คือธาตุไฟที่ปรากฏออกมา การที่ท้องหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกาะกุมกันจนมีรูปร่างเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผนังหนาท้อง การเกาะกุม (cohesion) เช่นนี้ คือ ลักษณะของธาตุน้ํา ส่วนอาการหรือการเคลื่อนไหว (motion) ของท้องเวลาท้องพองออกและท้องยุบลง คือปรากฎการณ์ของธาตุลมธาตุทั้ง ๔ เป็นรูปที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เรียกว่า อวินิพโภครูป สิ่งที่เป็นรูปทุกอย่างแม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดจะต้องมีคุณสมบัติที่มีอยู่เป็นประจํา ๘ อย่างคือ
. ปฐวี (คือสภาพแข็งและอ่อน)
. อาโป (คือสภาพเอิบอาบและเกาะกุม)
. เตโช (คือสภาพร้อนและเย็น)
. วาโย (คือสภาพเคร่งตึงและเคลื่อนไหว)
. วัณณะ (คือสี)
. คันธะ (คือกลิ่น )
. รสะ (คือรส) และ
. โอชา (คืออาหารรูป)

ที่มา
: วิปัสสนากรรมฐาน แนวมหาสติปัฏฐานสูตร – พระราชพุทธิญาณ วัดบุพพาราม เชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น