วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ธาตุลมทําให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย

การเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากอํานาจของธาตุลม เมื่อเราคู้แขนเขามา เหยียดแขนออกไป หรือแสดงพฤติกรรมทางกายอย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่าธาตุลมกําลังทํางานอยู่ ตัวอย่าง สําหรับการเดิน ก่อนที่การเดินจะเกิดขึ้น จิตจะทําหน้าที่เป็นผู้สั่งทําให้วาโยธาตุแล่นไปทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณขาทั้งสองข้าง ผลที่ตามมาคือพฤติกรรมของการเดิน โดยสรุปจิตที่อยากเดินนั้น เป็นเหตุ ส่วนอาการเดินที่เกิดขึ้นเป็นผล

สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ปรากฏการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสรีรวิทยาทางการแพทย์ ในสมองของแต่ละคนจะมีส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวของร่างซีกซ้ายจะถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา เมื่อเราต้องการจะยกมือซ้าย จิตที่ประกอบด้วยเจตนาจะสั่งให้สมองซีกขวาจะส่งกระแสประสาท (nerve impulse) ไปตามเซลล์ประสาท (neurons) จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งไปสู่เส้นประสาท (nerve fibers) ที่ไปเลี้ยงบริเวณแขนและมือซ้าย กระแสประสาทจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของมือตามที่ต้องการ ความจริงแล้วกระแสประสาทก็ คือ ธาตุลมนั้นเอง เพราะมีหน้าที่เหมือนกันคือ การทําให้เกิดการเคลื่อนไหว (movement) ในร่างกาย

ในการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้าโยคีกําหนดแต่เพียงรูปร่างสัณฐานของ ท้อง แขน ขา หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อารมณ์ที่ปรากฏกับจิตยังคงเป็นอารมณ์บัญญัติ (conventional concepts) ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานทําให้จิตสงบและตั้งมั่นแต่ยังไม่สามารถทําลายสักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวเราของเขา เป็นสัตว์ บุคคล เรา เขา ทํานองนี้ได้ แต่ถ้าโยคีพยายามกําหนดการเคลื่อนไหวของท้องพร้อมกับการกําหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” หรือกําหนดการเคลื่อนไหวของเท้า พร้อมกับการกําหนดในใจว่า “ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ” (สําหรับการเดินจงกรม ๓ ระยะ) ในลักษณะเช่นนี้อารมณ์ที่ปรากฏกับจิตจะเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ (ultimate realities) ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน การกําหนดที่ถูกต้อง เช่นนี้จะนําไปสู่วิปัสสนาญาณที่ค่อย ๆ สูงขึ้นตามลําดับ จนเห็นแจงประจักษ์ในความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ของรูปนาม เห็นรูปนามเกิดดับอย่างถี่ยิบ จนเกิดความกลัว ความเห็นโทษ ความเบื่อหน่าย ความปรารถนาที่จะพ้นไปจากรูปนาม และจนสุดท้ายคือ บรรลุมรรคญาณและผลญาณในที่สุด

ที่มา : วิปัสสนากรรมฐาน แนวมหาสติปัฏฐานสูตร – พระราชพุทธิญาณ วัดบุพพาราม เชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น