วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเจริญสมถะเป็นบาทของวิปัสสนา


ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวถึงการเจริญสมถะเป็นบาทของวิปัสสนาว่า

ยสฺส หิ สมาธิปี ตรุโณ วิปสฺสนาปิ. ตสฺส วิปสฺสนํ ปฏฐเปตฺวา อติจิรํ นิสินฺนสฺส กาโย กิลมติ. อนฺโต อคฺคิ วิย อุฏฐหติ. กจฺเฉหิ เสทา มุจฺจนุติ. มตฺถกโต อุสุมวฏฺฏิ วิย อุฏฺฐหติ. จิตฺตํ หญฺญติ วิหญฺญติ วิปฺผนุทติ. โส ปุน สมาปตฺตึ สมาปชฺชิตฺวา ตํ ปริทเมตฺวา มุทุกํ กตฺวา สมสฺสาเสตฺวา ปุนวิปสฺสนํ ปฎฐเปติ. ตสฺส ปุน อติจิรํ นิสินฺนสฺส ตเถว โหติ. โส ปุน สมาปตฺตึ สมาปชฺชิตฺวา ตเถว กโรติ. วิปสฺสนาย หิ พหูปการา สมาปตฺติ.
“โดยแท้จริงแล้ว บุคคลใดมีสมาธิและวิปัสสนาไม่แก่กล้า เมื่อเธอนั่งเจริญวิปัสสนานานร่างกายย่อมลำบากเหมือนไฟเผาอยู่ภายใน เหงื่อไหลออกจากรักแร้เหมือนมีควันพุ่งออกจากกระหม่อม จิตย่อมลำบาก ทุรนทุราย เธอย่อมเข้าสมาบัตินั้นอีก ข่มความลำบากกายและใจนั้นแล้ว กระทำให้ทุเลาลงจนสบายแล้วเจริญวิปัสสนาอีก เมื่อเธอนั่งนาน อีกความลำบากเหมือนอย่างนั้นย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมเข้าสมาบัติอีก กระทำเหมือนก่อนความจริงการเข้าสมาบัติมีอุปการะมากแก่วิปัสสนา”

ข้อความข้างต้นนี้แสดงว่า เนยยบุคคลผู้บรรลุสมถฌานก่อนแล้วมาเจริญวิปัสสนา สามารถเข้าฌานสมาบัติในขณะที่เกิดความลำบากกายและใจ แล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อไป การปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้สมาธิและปัญญาในวิปัสสนาแก่กล้าขึ้นตามลำดับ เมื่อสมาธิและปัญญาแก่กล้าความลำบากกายและใจย่อมไม่เกิดขึ้น สามารถนั่งกำหนดได้อย่างต่อเนื่องตลอดทิวาราตรี สมถฌานจึงเกื้อกูลแก่เนยยบุคคลโดยพิเศษอย่างนี้

ในปัจจุบันโยคีบุคคลผู้มักเจริญวิปัสสนาก่อน อาจพบกับความลำบากกายและใจบ้าง แต่ถ้ากำหนดรู้สภาวธรรมอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสมาธิและปัญญาแก่กล้าแล้ว ก็จะสามารถข้ามพ้นความลำบากนั้นไปได้
ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ ศีลและสมถภาวนาเป็นธรรมเกื้อกูลแก่เนยยบุคคล เป็นพิเศษ ท่านจึงกล่าวไว้ในคัมภีร์เนตติอรรถกถาข้างด้นว่า สิกขา ๓ เกื้อกูลแก่ เนยยบุคคล แต่ท่านมิได้กล่าวไว้โดยมุ่งจะแสดงว่าเขาต้องเจริญสิกขา ๓ เป็น เวลานานจึงจะบรรลุธรรมได้

เจ้าศากยะสรณานิจัดเป็นเนยยบุคคลที่บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันด้วย การเจริญวิปัสสนาขณะใกล้เสียชีวิต ไม่นับเป็นอุคฆฏิตัญญูหรือวิปจิตัญญู เพราะไม่ปรากฏในพระบาลีหรืออรรถกถาว่าได้บรรลุธรรม จังนั้น เนยยบุคคลจึงไม่จำเป็นต้องรักษาศีลให้หมดจดมาเป็นเวลานานจึงจะบรรลุธรรมได้

ที่มา : หนังสือ วิปัสสนานัย เล่มที่ ๑ พระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ ลำปาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น