วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รูปแบบของวิปัสสนายานิก

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนววิปัสสนายานิก หรือสุทธวิปัสสนากรรมฐาน (pure insight meditation) ซึ่งเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โยคีหรือผู้ปฏิบัติจะต้องกําหนดรูปธรรม (materiality) และนามธรรม (mentality) ที่เป็นปรมัตถ์ ในขณะที่ทวารทั้ง ๖ รับรู้อารมณ์ภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส และธรรมารมณ์) ตัวอย่างเมื่อมีรูป (คลื่นแสง) มากระทบกับตาจะเกิดการเห็นขึ้น ให้ตั้งสติกําหนดในใจว่า “เห็นหนอ ๆๆ” ในขณะที่มีการเห็นเกิดขึ้นจะมีองค์ประกอบที่สําคัญ ๓ อย่างคือ

. ตา เป็นรูป ซึ่งเป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ คือ การมองเห็น
. รูปหรือคลื่นแสงก็เป็นรูป
. จักขุวิญญาณ คือการเห็น เป็นนาม

ดังนั้น ทุกครั้งที่มีการกําหนดว่า “เห็นหนอ ๆ ๆ” ด้วยความเพียร (อาตาป) สติ (สติมา) และสัมปชัญญะ (สัมปชาโน) จะมีเพียงรูป (คือ ตา กับคลื่นแสงที่มากระทบกับตา) และนาม (คือจักขุ
วิญญาหรือการเห็น) เกิดขึ้น รูปและนามที่เกิดขึ้นก็มีการเกิดและการดับอยู่ตลอดเวลาอย่างถี่ยิบเพราะเป็นรูปนามปรมัตถ์ ต่อมาก็จะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความไม่ใช่ตัวตน ในขณะ
นั้นจะไม่มีสิ่ง สมมุติหรือบัญญัติ (concepts) เช่น ฉันเห็น เขาเห็น เธอเห็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม สําหรับโยคีผู้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มักประสบความยากลำบากอย่างมากในการกําหนดรูปนามที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๖ วิปัสสนาจารย์ในสมัยก่อนจึงนิยมให้กําหนดตามหมวดอิริยาบถใหญ่ ๔
(อิริยาปถปัพพะ) หมวดอิริยาบถย่อย 4 (สัปชัญญะปัพพะ) และหมวดกําหนด
ธาตุ ๔ (ธาตุมนสิการปัพพะ) ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยทางวิปัสสนา เมื่อเริ่มปฏิบัติให้นั่งในทำสมาธิแบบพระพุทธรูป ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาวางลงบนมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดํารงสติให้มั่นเอาสติไปกําหนดที่ท้องบริเวณสะดือ ให้สังเกตแต่เพียงอาการคือการแสดงออกมา (manifestation) ซึ่งได้แก่การเคลื่อนไหว ( movement or motion) ของท้องขณะที่ท้องพองออกให้กําหนดในใจว่า “พองหนอ” และขณะที่ท้องยุบลงให้กําหนดในใจว่า “ยุบหนอ” ไม่ให้มีการออกเสียง เป็นแต่เพียงการกําหนดในใจ (a mental note) เท่านั้น ปล่อยให้การหายใจดําเนินไปตามปกติไม่ต้องไม่สนใจกับ ลมหายใจเข้าออก และรูปรางสัณฐานของท้อง จำไว้ว่าสนใจแต่เพียงอาการพองและอาการยุบของท้องเท่านั้น

การกําหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” (ภาษาไทย) “
rising-falling” (ภาษาอังกฤษ) หรือ “อนนมติ-โอนมติ” (ภาษาบาลี) นั้น เป็นเพียงคําภาวนา ซึ่งเป็นอารมณ์บัญญัติ (conventional concept) เพื่อก่อให้เกิดสมาธิเท่านั้นไม่ใช่เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ (ultimate reality) ซึ่งเป็นอารมณ์ของ วิปัสสนากรรมฐาน ดังนั้น นอกเหนือจากการกําหนดในใจว่า “พองหนอ ยุบหนอ” แล้วโยคีจะต้องพยายามสังเกตดู “อาการพอง-อาการยุบ” ซึ่งเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ แน่นอนในระยะเริ่มต้นโยคีมักจะกําหนดได้แต่เพียงอารมณ์บัญญัติก่อน ต่อไปเมื่อวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ (ความสงบและความตั้งมั่นของจิต) และปัญญา (ความรู้) พัฒนามากขึ้น ๆ ก็จะค่อย ๆ เห็นอารมณ์ปรมัตถ์คือ อาการพอง-อาการยุบ ชัดขึ้น ๆ เป็นลําดับ การกําหนดอารมณ์ของกรรมฐาน “พองหนอ-ยุบหนอ” คือการกําหนด “วาโยโผฏฐัพพรูป” ซึ่งหมายถึงรูปตามที่ลมถูกต้องนั่นเอง

ที่มา : วิปัสสนากรรมฐาน แน่วมหาสติปัฏฐานสูตร – พระราชพุทธิญาณ วัดบุพพาราม เชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น